Main menu:
ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ก่อตั้งภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ในชื่อแผนกเคหเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เพื่อเปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขา คหกรรมศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 จึงเปิดสอนระดับปริญญาโทสาขาคหกรรมศาสตร์ และปีพ.ศ. 2538 เปิดสอนระดับปริญญาโทและปริญญาเอก หลักสูตรนานาชาติ
ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาคหกรรมศาสตร์ (อดีต -
ศาสตราจารย์ คุณชวนชม จันทระเปารยะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.อรุณ จันทนโอ
รองศาสตราจารย์
ดร.มณฑารพ จักกะพาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ปรียา เกตุทัต
ศาสตราจารย์
ดร.สรสิทธิ์ วัชโรทยาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ทัศนีย์ โรจนไพบูลย์
รองศาสตราจารย์
ดร.อัจฉรา นวจินดา
ผู้ช่วยศาสตราจาย์
กาญจนา ลุศนันทน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ
รองศาสตราจารย์
อบเชย วงศ์ทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ
อาจารย์
สาววิตรี พังงา
อาจารย์
ดร. ศรันยา คุณะดิลก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร. ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร
1. ศาสตราจารย์คุณชวนชม จันทระเปารยะ เริ่มก่อตั้งจนถึง 2523
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณ จันทนโอ ตุลาคม 2523 -
3. รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑารพ จักกะพาก เมษายน 2524 -
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียา เกตุทัต กรกฏาคม 2528 -
5. ศาสตราจารย์ ดร.สรสิทธิ์ วัชโรทยาน กันยายน 2530 -
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีย์ โรจนไพบูลย์ กุมภาพันธ์ 2533 -
7. รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา นวจินดา มีนาคม 2535 -
8. ผู้ช่วยศาสตราจาย์กาญจนา ลุศนันทน์ มีนาคม 2538 -
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ มีนาคม 2543 -
10. รองศาสตราจารย์อบเชย วงศ์ทอง มีนาคม 2547 -
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขจีจรัส ภิรมย์ธรรมศิริ กุมภาพันธ์ 2551 -
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธีลักษณ์ ไกรสุวรรณ กันยายน 2552 -
13. อาจารย์สาวิตรี พังงา ตุลาคม 2556 -
14. อาจารย์ ดร. ศรันยา คุณะดิลก ตุลาคม 2558 -
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร
ขอบเขตสาขาวิชาต่างๆ
สาขาอาหารและโภชนาการ : การใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการจัดอาหาร การประกอบ และแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารโดยยึดหลัก โภชนาการเพื่อสุขภาพของครอบครัว ชุมชน
และแก้ไขภาวะเจ็บป่วย
สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม : ผ้าเส้นใย การออกแบบสิ่งทอ การตัดเย็บ การเลือกและการออกแบบเครื่องแต่งกาย การจัดการผ้าในอาคาร
สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก : พัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย การจัดโครงการต่างๆ เช่น โครงการเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล โครงการเยาวชน โครงการผู้สูงอายุ
และการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลในครอบครัว เพื่อเป็นทรัพยากรที่ดีในสังคม
สาขาวิชาศิลปสัมพันธ์ : การนำองค์ประกอบและหลักของศิลปะมาใช้ในการออกแบบและจัดตกแต่ง เช่น การออกแบบลวดลายผ้า การจัดตกแต่งอาหาร การจัดดอกไม้
งานหัตถกรรม งานศิลปเด็กตลอดจนถึงการตกแต่งภายในอาคาร และสถานที่
* นอกจากการเรียนภาคบรรยายและปฏิบัติการแล้วนิสิตยังได้รับประสบการณ์จากการศึกษาและดูงานนอกสถานที่การฝึกภาคสนามและสถานการณ์จริง รวมถึงการจัดปัจฉิมนิเทศ
การส่งเสริมและการเผยแพร่
ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ดำเนินการเผยแพร่และบริการความรู้แก่ประชาชนและ บุคลากรของหน่วยงานของรัฐและเอกชนโดยการ จัดนิทรรศการ การจัดประชุมวิชาการ และการฝึกอบรม
การส่งเสริมศิลปและวัฒนธรรม
ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ศิลปและวัฒนธรรมไทยในทุกวิถีทางและโอกาส เช่น การจัดนิทรรศการ ผ้าพื้นเมือง การจัดแสดงเครื่องแต่งกายไทยในยุคต่างๆ แ
ละการสาธิตการทำขนมไทย เป็นต้น
อาชีพของบัณฑิตคหกรรมศาสตร์
วิชาชีพทางคหกรรมศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในครอบครัวและชุมชน ตั้งแต่ปี 2498 จนถึงปัจจุบัน ภาควิชาคหกรรมศาสตร์
ได้ผลิตบัณฑิตทางคหกรรมศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรีและโท ประมาณ 1,000 คน และได้เข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนต่างๆ เช่น
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-